ประเทศบรูไน
บรูไนมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมาเลเซียและอินโดนีเซียมาก
มีวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา และการแต่งกาย ที่คล้ายคลึงกัน
รวมทั้งยังมีวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาอิสลามด้วย เช่น
1.
สตรีชาวบรูไนจะแต่งกายมิดชิด นุ่งกระโปรงยาว
เสื้อแขนยาว และมีผ้าโพกศีรษะ คนต่างชาติ จึงไม่ควรนุ่ง กระโปรงสั้น
และใส่เสื้อไม่มีแขน ควรหลีกเลี่ยงเสื้อผ้าสีเหลือง
เพราะถือเป็นสีของพระมหากษัตริย์ การทักทาย จะจับมือกันเบาๆ และสตรีจะไม่
ยื่นมือให้บุรุษจับ การชี้นิ้วไปที่คนหรือสิ่งของถือว่าไม่สุภาพ แต่
จะใช้หัวแม่มือชี้แทน และจะไม่ใช้มือซ้ายในการส่งของให้ผู้อื่น สตรีเวลานั่งจะไม่ให้เท้าชี้ไปทางผู้ชาย
และไม่ ส่งเสียงหรือหัวเราะดัง
2.
การรับประทานอาหารร่วมกับชาวบรูไน
โดยเฉพาะคู่เจรจาที่เป็นชาวมุสลิมควรระมัดระวังการสั่งอาหาร
ที่เป็นเนื้อหมูและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
เนื่องจากผิดหลักปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ไม่รับประทานเนื้อหมู และถือเป็นกฎที่ปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในการห้ามดื่มสุรา
อาจขอให้ คู่เจรจาชาวบรูไนช่วยเลือกร้านอาหาร
ทั้งนี้บรูไนไม่มีวัฒนธรรมการให้ทิปในร้านอาหาร ในกรณีที่เป็น
ร้านอาหารขนาดใหญ่จะมีการเก็บค่าบริการ เพิ่มร้อยละ 10 อยู่แล้ว
ประเทศกัมพูชา
เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
วัฒนธรรมประเพณีจึงมีความเกี่ยวข้อง กับประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของคนในประเทศ
ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่
1.
ระบำอัปสรา (Apsara Dance) เป็นการแสดงนาฏศิลป์ที่โดดเด่นของกัมพูชา
ซึ่งถอดแบบการ แต่งกายและท่าร่ายรำมาจากภาพจำหลักรูปนางอัปสรที่ปราสาทนครวัด
2.
เทศกาลน้ำ (Water festival) หรือ “บอน อม ตุก” (Bon Om Tuk) เทศกาลประจำปีที่ยิ่งใหญ่ของกัมพูชา
จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายนเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในพระคุณของ
แม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์ มาให้ โดยจะมีการแข่งเรือยาว แสดงพลุดอกไม้ไฟ การ
แสดงขบวนเรือประดับไฟ และขบวนพาเหรด บริเวณทะเลสาบ
"โตนเลสาบ" ที่จัดขึ้น ทุกปีตั้งแต่ วันขึ้น 14 ค่ำ
15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ เดือน พฤศจิกายน
ซึ่งทางการกัมพูชา ประกาศให้เป็น วันหยุด 3 วัน
อินโดนีเซีย
มีชนพื้นเมืองหลายชาติพันธุ์กระจายกันอยู่ตามเกาะ
ทำให้วัฒนธรรมประเพณีในแต่ละท้องที่แตกต่างกันไป
1.
วายัง กูลิต (Wayang Kilit) เป็นการแสดงเชิดหุ่นเงาที่เป็นเอกลักษณ์ของอินโดนีเซีย
และถือเป็นศิลปะการ แสดงที่งดงามและวิจิตรกว่าการแสดงชนิดอื่น เพราะรวมศิลปะหลายด้านไว้ด้วยกัน
โดยฉบับดั้งเดิมใช้หุ่นเชิดที่ทำด้วย
หนังสัตว์นิยมใช้วงดนตรีพื้นบ้านบรรเลงขณะแสดง
2.
ระบำบารอง (Barong Dance) ละครพื้นเมืองดั้งเดิมของเกาะบาหล
มีการใช้หน้ากากและเชิดหุ่นเป็นตัวละคร โดยมีการเล่นดนตรีสดประกอบการแสดง
เรื่องราวเป็นการต่อสู้กันของ บารอง คนครึ่งสิงห์ ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายความดี
กับรังดา พ่อมดหมอผีตัวแทนฝ่ายอธรรม โดยฝ่ายธรรมะจะได้รับชัยชนะในที่สุด
3.
ผ้าบาติก (Batik) หรือ ผ้าปาเต๊ะ
เป็นผ้าพื้นเมืองของอินโดนีเซียที่มีวิธีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการ
ให้ติดสี และใช้วิธีการแต้มระบาย หรือ ย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี
ผ้าบาติกนิยมใช้เป็นเครื่องแต่งกายของหนุ่มสาว โดยใช้เป็นผ้าโพกศีรษะชาย ผ้าคลุม
ศีรษะหญิง ผ้าทับกางเกงชาย และโสร่ง หรือผ้าที่ใช้นุ่งโดยการพันรอบตัว
ซึ่งส่วนที่เรียกว่า “ปาเต๊ะ” คือส่วนที่ต้องนุ่ง ให้ตรงกับสะโพก
โดยมีลวดลายสีสันต่างไปจากส่วนอื่นๆ ในผ้าผืนเดียวกันนั่นเอง
ลาว
1.
ด้านดนตรีแคน
ถือเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ โดยมี วงดนตรีคือ วงหมอลำ และมีรำวงบัดสลบ (Budsiob) ซึ่งเป็นการเต้นที่มีท่าตามจังหวะเพลง
โดยจะเต้นพร้อมกันไปอย่างเป็นระเบียบถือเป็นการร่วมสนุกกันของชาวลาวใน
งานมงคลต่างๆ
2.
การตักบาตรข้าวเหนียว ถือเป็นจุดเด่นของเมืองหลวงพระบาง
ซึ่งโดยปกติแล้วนิยมใส่บาตรด้วยข้าวเหนียวเพียงอย่างเดียว เพราะเมื่อ ถึงเวลาฉัน
ชาวบ้านจะยกสำรับกับข้าวไปถวายที่วัด เรียกว่า “ถวายจังหัน” โดยเวลาใส่บาตรจะนั่งคุกเข่าและผู้หญิง ต้องนุ่งซิ่น
ส่วนผู้ชายนุ่งกางเกงขายาว และมีผ้าพาดไหล่ไว้สำหรับเป็นผ้ากราบพระเหมือนกัน
มาเลเซีย
ด้วยเหตุที่มีหลายชนชาติอยู่รวมกันทำให้ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่แตกต่างหลากหลายผสมผสานกัน
ซึ่งมี ทั้งการผสานวัฒนธรรมจากชนชาติอื่น
และการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของชนแต่ละกลุ่มในแต่ละพื้นที่
1.
การรำซาบิน (Zabin) เป็นการแสดงการฟ้อนรำหมู่
ซึ่งเป็นศิลปะพื้นเมืองของชาวมาเลเซีย โดยเป็นการ
ฟ้อนรำที่ได้รับอิทธิพลมาจากดินแดนอาระเบีย โดยมีผู้แสดงเป็นหญิงชายจำนวน 6 คู่ เต้นตามจังหวะของกีตาร์ แบบอาระเบียน
และกลองเล็กสองหน้าที่บรรเลงจากช้าไปเร็ว
2.
เทศกาลทาเดา คาอามาตัน (Tadau Kaamatan) เป็นเทศกาลประจำปีในรัฐซาบาห์
จัดในช่วงสิ้นเดือน พฤษภาคม
ซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดของฤดูการเก็บเกี่ยวข้าวและเริ่มต้นฤดูกาลใหม่
โดยจะมีพิธีกรรมตามความเชื่อในการ ทำเกษตร และมีการแสดงระบำพื้นเมือง และขับร้องบทเพลงท้องถิ่นเพื่อเฉลิมฉลองด้วย
พม่า
เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากจีน
อินเดีย และไทยมานาน จึงมีการผสานวัฒนธรรมเหล่านี้เข้ากับวัฒนธรรมของ
ตนจนเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา จึงเกิดประเพณีสำคัญ เช่น
1. ประเพณีปอยส่างลอง (Poy Sang Long) หรือ งานบวชลูกแก้ว เป็นงานบวชเณรที่สืบทอดกันมานาน และ
ชาวเมียนมาร์ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ของครอบครัว
2.
งานไหว้พุทธเจดีย์ประจำปี
ซึ่งแต่ละที่มักนิยมจัดในเดือนหลังออกพรรษาถือเป็นงานเฉลิมฉลองที่สนุกสนาน
และได้ทำบุญสร้างกุศลด้วย
ประเทศฟิลิปปินส์
วัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เป็นวัฒนธรรมผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก
ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับอิทธิพลจาก สเปน จีน และอเมริกัน ฟิลิปปินส์มีเทศกาลที่สำคัญ
ได้แก่
1.
อาติหาน (Ati
- Atihan) จัดขึ้นเพื่อรำลึกและแสดงความเคารพต่อ
“เอตาส (Aetas)” ชนเผ่าแรกที่มาตั้งรกรากอยู่บนเกาะ
แห่งหนึ่งใน ฟิลิปปินส์ และรำลึกถึงพระเยซูคริสต์ในวัยเด็ก โดยจะแต่งตัวเลียนแบบเทศกาลอาติชนเผ่า
เอตาส แล้วออกมารำรื่นเริงบนท้องถนนในเมืองคาลิบู(Kalibu)
2.
เทศกาลซินูล็อก (Sinulog) งานนี้จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 3 ของเดือน มกราคมทุกปีเป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต
นินอย (Santo Nino)โดยจะจัดแสดงดนตรีและ มีขบวนพาเหรดแฟนซี
ทั่วเมือง เซบู (Cebu)
สิงคโปร์
เป็นประเทศที่มีประชากรหลากหลายเชื้อชาติหลากหลายศาสนา
ทำให้ประเทศนี้มีศิลปวัฒนธรรมที่หลาก หลาย สำหรับเทศกาลที่สำคัญของสิงคโปร์ก็จะเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนาเช่น
1.
เทศกาลตรุษจีน เทศกาลปีใหม่ของชาวจีนที่จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์
2.
เทศกาล Good
Friday จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนของชาวคริตส์ใน
เดือนเมษายน
3.
เทศกาลวิสาขบูชา จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการประสูติ
ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้าของชาวพุทธ ในเดือนพฤษภาคม
4.
เทศกาล Hari
Raya Puasa เทศกาลการเฉลิมฉลองของชาวมุสลิมที่จัดขึ้นเมื่อสิ้นสุดพิธีถือศิลอดหรือ
รอมฏอนในเดือนตุลาคม
5.
เทศกาล Deepavali เทศกาลแห่งแสงสว่างและเป็นงานขึ้นปีใหม่ของชาวฮินดู ที่จัดขึ้นเดือน
พฤศจิกายน
ไทย
ได้รับอิทธิพลจากมอญ ขอม อินเดีย
จีนและชาติตะวันตก แต่มีเอกลักษณ์ในด้านความงดงาม ประณีต และผูกพัน
อยู่กับพระพุทธศาสนา
1.
การไหว้
เป็นประเพณีการทักทายที่ถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของไทย โดยเป็นการแสดงถึงความมี
สัมมาคารวะและให้เกียรติกันและกัน นอกจากการทักทาย
การไหว้ยังมีความหมายเพื่อการขอบคุณ ขอโทษ หรือ กล่าวลาด้วย
2.
โขน เป็นนาฏศิลป์เก่าแก่ของไทย
มีลักษณะสำคัญที่ผู้แสดงต้องสวมหัวโขนทั้งหมด ยกเว้นตัวนาง พระ และเทวดา
ซึ่งแสดงโดยใช้ท่ารำและท่าทางประกอบทำนองเพลง
ดำเนินเรื่องด้วยบทพากย์และบทเจรจาส่วนเรื่อง ที่นิยมแสดงคือ รามเกียรติ์
3.
สงกรานต์ ประเพณีเก่าแก่
ซึ่งถือเป็นการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติกัน โดยจะมีการ รดน้ำ ขอพรผู้ใหญ่
สรงน้ำพระ ทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา ขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย
รวมทั้งมีการเล่น สาดน้ำเพื่อความสนุกสนานด้วย
เวียดนาม
ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่ของเวียดนามจะได้รับอิทธิพลจากจีนและฝรั่งเศส
เวียดนามมีเทศกาลที่สำคัญ ได้แก่
1.
เทศกาลเต็ด (Tet) หรือ “เต็ดเหวียนดาน (Tet Nguyen Dan)” หมายถึง
เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ถือเป็น
เทศกาลทางศาสนาที่สำคัญที่สุดดขึ้นในช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์เป็นการเฉลิมฉลองความเชื่อ
ในเทพเจ้า ลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และศาสนาพุทธ รวมทั้งเป็นการแสดงความเคารพต่อบรรพบุรุษด้วย
2.
เทศกาลกลางฤดูใบไม้ร่วง
จัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ชาวบ้านจะประกวดทำขนมเปี๊ยะโก๋ญวนหรือบันตรังทู
ทีมีรูปร่างกลม มีไส้ถั่วและไส้ผลไม้ และมีการจัดขบวนเชิดมังกร
เพื่อแสดงความเคารพต่อพระจันทร์ จะมีการเฉลิมฉลองกับขนมเค้กสำหรับเด็กและครอบครัวของพวกเขาที่ดูดวงจันทร์
ขบวนของโคมไฟและโคมไฟ ดวงจันทร์จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์สำหรับความเจริญรุ่งเรือง ในช่วงเทศกาลจะมีกล่องเค้กในรูปร่างของดวงจันทร์ เพื่อเพื่อนและครอบครัว
ในเวลากลางคืนเด็กจะเดินขบวนในถนนร้องเพลงในขณะที่ส่งมอบโคมไฟจีนสีในมือ โคมไฟเหล่านี้จีนมีเทียนที่ส่องสว่างสวยงามตามท้องถนน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น